Page 11 - MRA_2563
P. 11

M e d i c a l   R e c o r d   A u d i t   G u i d e l i n e


        เจตคติที่จ�ำเป็นในกำรท�ำ Medical Record Audit


               ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดท�า Medical Record Audit ทุกฝ่าย ต้องเข้าใจว่าการทบทวนเวชระเบียนนั้น
        มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ถูกบันทึกในเวชระเบียน และทบทวนกระบวนการ

        ทั้งหมดว่ามีส่วนบกพร่องที่ใด เพื่อน�าไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพบริการ แก้ไขส่วนขาดต่างๆ อย่างสม�่าเสมอ
        เพื่อธ�ารงไว้ซึ่งคุณภาพและการพัฒนาคุณภาพการบริการอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การบันทึกข้อมูลลงเวชระเบียน
        จึงต้องท�าอย่างดีที่สุดในผู้ป่วยทุกราย มิใช่ท�าเพื่อรองรับการตรวจสอบเท่านั้น แต่ท�าเพื่อช่วยให้ได้บริการที่ดี

        ที่สุดแก่ผู้รับบริการและต้องยินยอมให้มีการตรวจสอบตามกระบวนการต่างๆ ด้วยความเต็มใจ พร้อมรับการ
        วิจารณ์และน�ามาแก้ไขโดยไม่โกรธเคืองผู้ที่ท�าการทบทวน



        กำรจัดเตรียมเอกสำรของหน่วยบริกำรเพื่อกำรตรวจประเมิน

        กรณีหน่วยบริกำรบันทึกข้อมูลบริกำรหรือจัดเก็บเวชระเบียนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์



        เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Medical Record : EMR)
               หมายถึง เอกสารเวชระเบียนผู้ป่วยทั้งแฟ้มที่ถูกบันทึกข้อมูลบริการหรือจัดเก็บเวชระเบียนด้วยระบบ

        อิเล็กทรอนิกส์
               1.  การบันทึกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์ (Electronic Medical Record : EMR) คือการ
                 บันทึกข้อมูลทางการแพทย์โดยพื้นฐานแพลตฟอร์มโรงพยาบาลดิจิทัลครบวงจร การบันทึกแบบ

                   EMR เป็นการบันทึกข้อมูลเฉพาะส�าหรับผู้ป่วยแต่ละคนของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง
               2.  การจัดเก็บเวชระเบียนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ คือ เวชระเบียนที่ถูกจัดเก็บโดยวิธีถ่ายภาพลงใน

                   microfilm หรือสแกนภาพลงบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ เช่น แผ่นซีดี เทป ฮาร์ดดิส หรือ
                 อื่นๆ ตามช่วงเวลาการด�าเนินงาน ตัวอย่างเวชระเบียนที่เก็บในรูปเอกสารอิเล็กทรอทรอนิกส์
                 เช่น เวชระเบียนผู้ป่วยนอกที่จัดเก็บในโปรแกรม HOSxP เวชระเบียนผู้ป่วยในที่สแกนเอกสาร

                 และจัดเก็บตามระบบหมายเลขการรับเข้ารักษาในโรงพยาบาล (Admission number: AN) ของ
                 โรงพยาบาล เป็นต้น

               การจัดเตรียมเอกสารของหน่วยบริการเพื่อการตรวจสอบ กรณีหน่วยบริการบันทึกข้อมูลบริการหรือ
        จัดเก็บเวชระเบียนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีแนวทางดังนี้
               1.  กรณีที่หน่วยบริการมีการบันทึกหรือจัดเก็บเวชระเบียนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ และต้องพิมพ์

                   เอกสารเวชระเบียนเพื่อส่งมาให้ตรวจสอบ หน่วยบริการสามารถใช้หนังสือน�าส่งเวชระเบียนแทนการ
                   รับรองเอกสารนั้น หากไม่มีหนังสือน�าส่งเอกสาร ให้ลงนามรับรองเอกสารทุกแผ่น โดยผู้รับผิดชอบ

                 หรือผู้ที่ได้รับมอบอ�านาจการจัดการเวชระเบียนของหน่วยบริการนั้น ในอนาคตเพื่อเป็นการรองรับ
                 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อาจจะมีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อรองรับการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
                   เพื่อการตรวจสอบ MRA



        2           คู่มือการตรวจประเมิน
                    คุณภาพการบันทึกเวชระเบียน
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16